ทราบหรือไม่ ว่าเฉลี่ยคนไทยประมาณ 25% มีภาวะนอนกรน และมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ประมาณ 5% หรือ 3 ล้านคน ซึ่งสภาวะการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพแบบนี้อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคบางอย่าง แน่นอนว่าปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์โดยตรงเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง แต่เราสามารถที่จะออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอน หรือที่นอนเพื่อสุขภาพเพื่อเสริมเรื่องการนอนให้ได้คุณภาพได้
เลือกที่นอนเพื่อสุขภาพอย่างไรดี?
1.ที่นอนโอบสรีระพอดี แต่ไม่จมที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง
การเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพอย่างแรกที่ดีต่อสรีระ คือ ความโอบรับสรีระแต่ละส่วนแบบพอดี แต่ไม่จมที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เวลาที่เราทดลองนอนลงไปแล้วลองลุกขึ้น จะไม่รู้สึกว่าลุกยาก นอกการการทดลองนอนแล้วดูความโอบรับสรีระ อีกวิธีสังเกตคือการทดลองใช้มือกดลงไป หากมีการคืนตัวไวถือว่าดี แต่หากเป็นรอยจมลองไป และคืนตัวช้าก็มีโอกาสที่จะทำให้ปวดหลังระยะยาว
2. ที่นอนที่พลิกตัวระหว่างนอนหรือลุกนั่งได้ง่าย
ที่นอนเพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อลองพลิกตัวหรือลุกนั่งแล้วไม่ต้องใช้แรงเยอะ ซึ่งก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากการเลือกที่นอนที่นอนแล้วไม่จม เพราะที่นอนที่พลิกตัวยากมีโอกาสที่จะทำให้ตื่นกลางดึกได้ง่าย อีกทั้งการใช้แรงในการพลิกตัวมากเกินไปก็อาจจะส่งผลให้คนที่นอนข้างๆ รู้สึกตัวเพราะแรงสั่นสะเทือนในระหว่างพลิกตัวอีกด้วย
3. ที่นอนที่ทำให้สรีระอยู่ในระนาบที่พอดี
ที่นอนเพื่อสุขภาพเมื่อเรานอนสรีระควรอยู่ในระนาบที่พอดี สามารถรองรับส่วนคอ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง สะโพก ได้โดยไม่จมเป็นแอ่งบริเวณจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป และลักษณะท่านอนที่ถูกต้องจะคล้ายกับสรีระเวลาที่เรายืน
4. ที่นอนเพื่อสุขภาพที่เหมาะกับสรีระร่างกาย
แต่ละคนต่างก็มีปัญหาการนอน หรือสรีระร่างกายที่ไม่เหมือนกัน การเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับความต้องการของตัวเองจึงสำคัญที่สุด เพราะวัสดุของที่นอนแต่ละรุ่นหรือแต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว อย่างเช่น ที่นอนที่มีความนุ่มพอดีสำหรับคนน้ำหนักตัวน้อย อาจจะกลายเป็นที่นอนที่มีความยวบเกินไปสำหรับคนน้ำหนักตัวมาก การไปทดลองนอนด้วยตัวเองจึงดีที่สุด
ปัญหาการนอนไม่หลับ ป้องกันได้ด้วยการสร้างวัฏจักรการนอนที่ดี
- นอนและตื่นให้เป็นเวลา
การนอนและตื่นเป็นเวลาเป็นส่วนช่วยในการลดปัญหาด้านการนอน อย่างเช่น โรคนาฬิกาการนอนผิดปกติ ประโยชน์ของการนอนและตื่นในเวลาเดิมสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้จะช่วยให้ร่างกายจดจำช่วงเวลานอน และเมื่อถึงเวลานอนจะทำให้เราง่วงนอนได้ง่ายขึ้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
ร่างกายของมนุษย์นั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานในแต่ละวันเพื่อเผาผลาญ แต่ในปัจจุบันหลายคนต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวานาน ดังนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้ใช้พลังงานและทำให้นอนหลับง่ายขึ้นในช่วงเวลากลางคืน
- สร้างบรรยากาศภายในห้องให้เอื้อต่อการนอน
การปรับและสร้างบรรยากาศภายในห้องให้เอื้อต่อการนอนก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับได้ง่ายมากขึ้น เช่น การปรับอุณหภูมิห้องที่พอดี การทำให้ภายในห้องมืดสนิทเพื่อไม่ให้แสงรบกวนตอนนอน หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อาจจะมีเสียงดังรบกวนตอนนอน
- แบ่งแยกพื้นที่การทำงานและพักผ่อนให้ชัดเจน
การนำงานมาทำบนที่นอนในตอนกลางวัน และแบ่งพื้นที่ระหว่างการทำงานและการพักผ่อนที่ชัดเจน มีส่วนช่วยให้นอนหลับได้ง่ายกว่า เพราะหากไม่แบ่งแยกให้ชัดเจน ร่างกายอาจจะคุ้นชินจนทำให้นอนหลับยากเมื่อถึงเวลานอน และสิ่งสำคัญก็คือการงดเล่นโซเชียลมิเดียก่อนนอน 30 นาที เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ช่วงเวลาของการนอน ก็ช่วยให้ร่างกายเตรียมเข้าสู่สภาวะการนอนหลับได้ง่ายมากขึ้น