บทความ

ผวาตื่นกลางดึกเพราะ “ผีอำ” ความเชื่อชวนหลอน ที่วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

ผวาตื่นกลางดึกเพราะผีอำ

ตี 3 เวลาหลอน เวลาสุดฮิตที่ถ้าใครจะโดนผีอำก็จะต้องโดนเวลานี้ ความเชื่อเรื่องผีอำมีมาอย่างยาวนาน และไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะในประเทศไทย แต่หลายประเทศก็มีตำนานความเชื่อเกี่ยวกับผีอำเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าผีมีจริงหรือไม่ แต่อาการ “ผีอำ” มีชื่อที่ถูกอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ว่า Sleep Paralysis หรือภาวะที่ร่างกายรู้สึกตัว แต่ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ได้

ตำนานความเชื่อเรื่องผีอำในแต่ละวัฒนธรรม

ก่อนจะไปเข้าเรื่องสาเหตุของอาการผีอำ เราขอพาไปแวะดูตำนานความเชื่อเรื่องผีอำในแต่ละวัฒนธรรมว่ามีอะไรบ้างประเทศไม่ใกล้จากเรามากอย่างญี่ปุ่น ภูมิภาคโทโฮะกุของญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เมื่อนอนหลับไปแล้วถูกผีกดทับหรือจับที่ปลายขา หรือประเทศแคนาดา มีเรื่องเล่าว่า คนที่ถูกผีอำเป็นเพราะมีแม่มดมากดทับลำตัว

อาการผีอำ คืออะไร?

อาการผีอำ หรือภาวะ Sleep Paralysis เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกตัวแต่ขยับร่างกายไม่ได้ อยู่ในสภาวะแข็งทื่อเหมือนถูกกดทับตัวเอาไว้ ตากระตุก หายใจติดขัด หรือมีฝันร้ายร่วมด้วย มักจะเกิดขึ้นตอนอยู่ในช่วงกึ่งหลับกึ่งตื่น เลยเหมือนกับเรากำลังลืมตามองเห็นเหตุการณ์โดยรอบแต่ไม่สามารถขยับหรือโต้ตอบอะไรได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะหายเองภายในไม่กี่นาทีจากการสะดุ้งตื่น หรือมีคนปลุก ภาวะ Sleep Paralysis หรือผีอำ เกิดได้กับคนทั่วไป โดยพบว่ามีคนจำนวน 4 จาก 10 คนที่ตกอยู่ในภาวะผีอำสักครั้งในชีวิต แต่อาการผีอำก็เป็นการบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการนอนได้เช่นเดียวกัน

จริงๆ แล้วอาการผีอำเกิดอะไร?

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อยติดต่อกัน
  • นอนไม่เป็นเวลา เปลี่ยนเวลานอนบ่อยๆ หรือประสบภาวะ Jet Lag
  • ปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจ เช่น ความกังวล ความเครียดสะสม
  • นอนหลับผิดท่า และมักพบบ่อยๆ ในท่านอนหงาย
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับนอนหลับ เช่น โรคลมหลับ
  • ใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น
  • มีการใช้สารเสพติด

อาการผีอำ ป้องกันและรักษาอย่างไร?

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • พยายามเข้านอนและตื่นเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายจดจำเวลานอน ลดการเกิดภาวะผีอำเพราะนอนผิดเวลา
  • หากเป็นเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป

 

ใส่ความเห็น